drought

192073S 19456007

1. สาเหตุการเกิดภัยแล้ง

เกิดจากธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก เช่น ระบบการหมุนเวียนหรือส่วนผสมของบรรยากาศเปลี่ยนแปลง สภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย ดินเก็บความชื้นต่ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อย
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศน้อยกว่าปกติ

เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การใช้น้ำอย่างไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองเกินไป ทั้งการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำใต้ดินลดลง
พฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทำลายชั้นโอโซน เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เช่น การเผาพลาสติก น้ำมัน และถ่านหิน
การพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดต้นไม้ซึมซับน้ำ และเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า ถือครองกรรมสิทธิ์ปลูกพืชไร่
ระบบการเพาะปลูกและความถี่ของการเพาะปลูก
ขาดการวางแผนการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝน

2. ผลกระทบของภัยแล้ง

ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค และการเลี้ยงปศุสัตว์
เกิดการกัดเซาะ กัดกร่อนภูมิทัศน์ พื้นดินแห้งแล้งและเกิดการพังทลายของผิวดิน
เกิดฝุ่นละออง พายุฝุ่น เพราะพื้นดินแห้งแล้งขาดน้ำ
ประชาชนเกิดความอดอยากเนื่องจากการขาดน้ำในการอุปโภคบริโภค
เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบทั้งบนบกและในน้ำ
เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร และเพิ่มโอกาสเกิดโรคระบาด
เกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
ผลผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการไหลของน้ำผ่านเขื่อนลดลง
การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการขบวนการผลิต
เพิ่มโอกาสการเกิดไฟป่าในช่วงเกิดภัยแล้ง

แผนการเตรียมการรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง (ด้านปศุสัตว์) "ก่อนเกิดภัย"

เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านปศุสัตว์กับหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น
ใช้เพียงถือบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมหลักฐานภาพถ่ายการเลี้ยง ไปแจ้งที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์อยู่ ในวันเวลาราชการเท่านั้น
จากนั้นก็ไปแจ้งปรับปรุงข้อมูล เพียงปีละครั้ง หรือจะปรับปรุงข้อมูลด้วยตนเอง ทางแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ได้
สอบถามเพิ่มเติมที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้าน หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือกรมปศุสัตว์ โทร.02-653-4444 ต่อ 2321

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการป้องกันและลดความสูญเสียด้านปศุสัตว์ จำเป็นให้มีการสารวจและจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 การจัดเตรียมบุคลากร
1.2 การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
1.3 การจัดเตรียมสถานที่อพยพ จุดอพยพ เส้นทางอพยพและพาหนะในการอพยพสัตว์ สู่ที่ปลอดภัย
1.4 การเตรียมพื้นที่ระดมและจัดสรรเสบียงสัตว์
1.5 การเตรียมความพร้อมให้ภาคประชาชน ชุมชนเฝ้าระวังก่อนเกิดภัย